ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองรบทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก ทั้งที่จริงตรังเป็นชุมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้
จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 828 กม. มีพื้นที่ประมาณ 4,941.439 ตร.กม. หรือประมาณ 3,088,399.375 ไร่
อาณาเขตของจังหวัดตรัง
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอควนขนุน อำเภอกงหรา และอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอคลองท่อม เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
คำขวัญของจังหวัดตรัง
ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
คำขวัญท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง
เมืองพระยารัษฎา | The city Of Phraya Rasda ; |
ชาวประชาใจกว้าง | broad – hearted citizen ; |
หมูย่างรสเลิศ | delicious roast pork ; |
ถิ่นกำเนิดยางพารา | origin place of para rubber ; |
เด่นสง่าดอกศรีตรัง | lovely Sri Trang flower ; |
ประการังใต้ทะเล | beautiful coral reel ; |
เสน่ห์หาดทรายงาม | chamming sandy beach; |
น้ำตกสวยตระการตา | and wonderful waterfalls. |
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง ขึ้นอยู่กับพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา ถ้าปีใดยางพารามีราคาสูง เศรษฐกิจของจังหวัดโดยรวมก็จะดี แต่ถ้าปีใดราคายางพาราตกต่ำ เศรษฐกิจโดยรวมก็จะซบเซาไปด้วย
อาชีพสำคัญ ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดตรังได้แก่
- การกสิกรรม พืชที่ปลูกสำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะม่วงหิมพานต์
สะตอ กาแฟ แตงโม ถั่วลิสง ผักต่าง ๆ - การประมง จังหวัดตรังมีอาณาเขตติดต่อกับฝั่งทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ถึง 4 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ การประมงจึงเป็นอาชีพและรายได้หลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดตรัง - การอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เช่น
โรงงานรมควันยาง ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตอาหารทะเลกระป๋อง ผลิตปลาบดแช่แข็ง ฯลฯ - การป่าไม้ ได้แก่ การเผาถ่านไม้
- การพาณิชย์ ได้แก่ การค้าส่ง ค้าปลีก ค้ากับต่างประเทศ มีสินค้าจากผลิตผลทางการเกษตร เช่น
- ยางแผ่นรมควัน ยางแท่งทีทีอาร์ สัตว์น้ำทะเล และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทะเล ฯลฯ
ทรัพยากรที่สำคัญของจังหวัดตรัง จำแนกตามประเภทได้ดังนี้
- ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ปลูกทั่วไปทุกอำเภอแต่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อำเภอปะเหลียน
- สัตว์น้ำ จังหวัดตรังมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ในเขตอำเภอสิเกา อำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว และกิ่งอำเภอหาดสำราญ
มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด - แร่ แร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แร่ดีบุก แร่ฟลูออไรด์ แร่ถ่านหิน และแร่แบไรท์ มีมากที่อำเภอห้วยยอด
- ปาล์มน้ำมัน ปลูกมากที่อำเภอสิเกา และอำเภอวังวิเศษ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดกระบี่
- รังนกมีตามเกาะต่าง ๆ ในเขตอำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา ซึ่งเอกชนได้รับสัมปทานเก็บในแต่ละปี
การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 85 ตำบล 723 หมู่บ้าน 77 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 22 เทศบาล ได้แก่
อำเภอ | ตำบล | หมู่บ้าน | เทศบาล | อบต. |
อำเภอเมืองตรัง | 14 | 121 | 4 | 12 |
อำเภอกันตัง | 13 | 83 | 1 | 13 |
อำเภอปะเหลียน | 10 | 86 | 3 | 9 |
อำเภอย่านตาขาว | 8 | 67 | 3 | 6 |
อำเภอสิเกา | 5 | 40 | 3 | 4 |
อำเภอห้วยยอด | 16 | 133 | 5 | 14 |
อำเภอวังวิเศษ | 5 | 68 | 1 | 5 |
อำเภอนาโยง | 6 | 53 | 1 | 6 |
อำเภอรัษฎา | 5 | 50 | 1 | 5 |
่อำเภอหาดสำราญ | 3 | 22 | – | 3 |
รวม | 85 | 723 | 22 | 77 |