Huaiyot Industrial and Community Education College
วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด เป็นวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ ตั้งอยู่ในเขตการศึกษา 4 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอดประกาศ จัดตั้งเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2536 โดยกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณครั้งแรกที่ได้รับจำนวน 28 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ
2537 – 2539 เพื่อดำเนินการสร้างอาคารต่าง ๆ ได้แก่
- อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น 1 หลัง
- อาคารหอประชุมเอนกประสงค์ 1 หลัง
- อาคารโรงฝึกงาน 480 ตารางเมตร 2 หลัง
- บ้านพักผู้บริหาร 1 หลัง
- บ้านพัก ครู- อาจารย์ 2 ชั้น 2 หลัง จำนวน 12 ยูนิต
- บ้านพัก นักการภารโรงชั้นเดียว 3 หลัง 6 ยูนิต
- ห้องน้ำ ห้องส้วม 2 หลัง
อาคารทั้งหมดได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2538
วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอดได้เปิดรับสมัครนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
2 ประเภทวิชา คือ
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ได้แก่
- สาขาวิชาช่างยนต์
- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
- สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
- สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่
- สาขาวิชาบัญชี
- สาขาวิชาการขาย
- สาขาวิชาเลขานุการ
รวมนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 560 คน
วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอดทำการเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2538
อาณาเขต :
ทิศเหนือ จดถนนสาธารณะ
ทิศใต้จดโรงพยาบาลห้วยยอด
ทิศตะวันออกจดสวนยางพาราของเอกชน
ทิศตะวันตกจดถนนเทศารัษฎา
ขนาดเนื้อที่รวม 57 ไร่
ปรัชญาสถานศึกษา : สนองตอบประชา สรรหาภูมิธรรม โน้มนำวิทยา พัฒนายั่งยืน
อัตลักษณ์ : ทักษะดี มีจิตอาสา
เอกลักษณ์ : บริการวิชาชีพสู่สังคม
ค่านิยมร่วม : รู้หน้าที่ สามัคคี บริการดี มีน้ำใจ
คุณธรรมอัตลักษณ์ : ซื่อสัตย์ ประหยัด จิตอาสา
สีประจำโรงเรียน : คือ สีเลือดหมู – ขาว
วิสัยทัศน์
บริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของพัฒนาประเทศ
พันธกิจ
- บริหารจัดการสถานศึกษาให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมมาภิบาล
- ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมการบริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคม
- ส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และสร้างองค์ความรู้เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
เป้าประสงค์และกลยุทธ์
การกำหนดกลยุทธ์ใช้วิธีการกำหนดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT) และความเชื่อมโยงของพันธกิจ
พันธกิจที่ 1 บริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมมาภิบาล
เป้าประสงค์ วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอดเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของชุมชน ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ
กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่เกิดจากการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมมาภิบาล
พันธกิจที่ 2 ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
เป้าประสงค์ ผู้เรียน ผู้ฝึกอบรมและผู้สำเร็จการศึกษาเป็นที่ต้องการของภาคผู้ใช้หรือความพร้อมในการประกอบอาชีพอิสระ มีสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาสมรรถนะของครูให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิชาชีพครู วิชาการและการปรับตัว
กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการเรียน การสอน การวัดและประเมินผลด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหาย
กลยุทธ์ที่ 2.3 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การบริการและการดูแลผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 2.4 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
กลยุทธ์ที่ 2.5 พัฒนาและยกระดับคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นไปสู่ระดับสากล
กลยุทธ์ที่ 2.6 จัดทำและพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมการบริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคม
เป้าประสงค์ ครูและผู้เรียนใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพและวิชาการในการบริการชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย
กลยุทธ์ที่ 3.1 บริการวิชาการและวิชาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการให้ได้มาตรฐานความเป็นมืออาชีพ
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และสร้างองค์ความรู้เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
เป้าประสงค์ ครูและผู้เรียนใช้ความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดทำและพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ
กลยุทธ์ที่ 4.1 พัฒนาระบบการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
กลยุทธ์ที่ 4.2 เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
พันธกิจที่ 5 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
เป้าประสงค์ สถานศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ที่ 5.1 พัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐาน
กลยุทธ์ที่ 5.2 สร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในเขตบริการในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 5.3 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศในการจัดการอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานนานาชาติ
กลยุทธ์ที่ 5.4 ขยายการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นให้ครอบคุลมทุกกลุ่มเป้าหมาย